วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เขียว ๆ คลอโรฟิลล์

คลอโรฟิลล์คืออะไร

ถ้าคุณเอาใบไม้มาตำๆแล้วคั้นน้ำออกมาไปตรวจในห้องทดลอง คุณจะพบสารมีสีที่ชื่อว่าคลอโรฟิลล์ เป็นชื่อของกลุ่มของสารที่มีสีในตัวที่พบได้ในพืชทั่วๆไป การที่มันมีสีในตัวเองจึงมีหน้าที่ดักจับพลังงานแสงที่สาดส่องมาเพื่อใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเกิดขึ้นในในชั้น Chloroplasts ของใบพืช สารนี้ไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเราจะพบมันได้ในพืชระดับชั้นต่ำเช่นในสาหร่ายแต่จะมีสีแตกต่างกันไป ที่เรียกว่าพืชชันต่ำก็เพราะว่ามันเป็นพืชที่มีองคาพยพแค่ใบ ในขณะที่พืชชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการโดยใบจะมีการกลายไปเป็นดอกหรือ ผล เพื่อทำหน้าที่เฉพาะได้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งออกเจ้าสารมีสีนี้ออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
1. คลอโรฟิลล์ a มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้
2. คลอโรฟิลล์ b มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่ายสีเขียว
3. คลอโรฟิลล์ c พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
4. คลอโรฟิลล์ d พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง


หน้าที่ของคลอโรฟิลล์คือต้านอนุมูลอิสระ

จากการวิจัยเราพบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านทานสารก่อกลายพันธุ์ที่ยังไม่ทราบกลไกอย่างแจ้งชัด อาจเป็นผลมาจากตัวมันเองทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ การทำงานของสารนี้ในชั้น Chloroplasts นั้นโมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น ทำไมจึงนำเอาคลอโรฟิลล์มาใช้ก็มีบุคคลากรทางสาธารณสุขบางท่านก็อนุมานว่าคลอโรฟิลล์สามารถทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำสารนี้มาเป็นสารอาหารเพื่อวางจำหน่าย โดยในหลากหลายผลิตภัณท์เสริมอาหารที่นำมาวางขายกันอยู่ จะเป็นคลอโรฟิลล์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้ว ให้มีโครงสร้างคล้ายๆกับคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติและละลายในน้ำได้ดี วัตถุประสงค์จริงๆของสารนี้ในตอนต้นก็เพื่อนำมาเป็นสีเขียวในสีผสมอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น ขอย้ำว่าคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ในชั้นของใบพืชนั้น เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น


แหล่งของคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติ

พบมากในผลไม้ ผักที่มีสีเขียว ถ้าคุณชอบกินผัก ผลไม้สดเป็นประจำอยู่แล้วคุณก็ได้รับคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติที่ดีที่สุดอยู่แล้ว


อันตรายของคลอโรฟิลล์ที่มากเกินไป

อย.สหรัฐได้กำหนดความปลอดภัยในการนำสารนี้มาเป็นสีผสมอาหารในผู้ใหญ่ไม่ควรเกินวันละ 300 มิลลิกรัมต่อวัน และในเด็กไม่ควรเกิน 90 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนกินสารนี้คุณควรตรวจว่าคุณมีอาการแพ้หรือไม่ เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ เวียนศีรษะ เหงื่อออกมากจนหมดสติไปได้ในที่สุด หากคุณกินมากเกินไป จะมีผลทำให้อึหรือฉี่ออกมาเป็นสีเขียวได้ ถ้าเป็นมากๆอาจทำให้ท้องเสียได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น