วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คุณสมบ้ติของทองคำ

ทองคำ หมายถึง โลหะชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง มีจุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศา เซลเซียส เป็นโลหะที่มีคุณค่าเพราะมีความเหนียว (Ductility) และมีความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืด ขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตก ได้สูงสุด
คุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งช่วยให้ทองคำโดดเด่นและเป็นที่ต้องการเหนือโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ คุณสมบัติดังกล่าว ได้แก่ 1.ความงดงามเป็นมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ และความงามที่ เป็นอมตะแก่ทองคำ การเปลี่ยนเฉดสีทองคำด้วยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ เป็นวิธีที่ช่วย เพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง ทองคำไม่ทำปฏิกริยากับออกซิเจนดังนั้นเมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะ ไม่หมองและไม่เกิดสนิม 2.ความหายาก (rarity) แม้ว่าเราจะพบเห็นทองคำได้ทั่วไป แต่กว่าที่จะได้ทองคำมาสัก 1 ออนซ์ จะต้องถลุงก้อนแร่ ที่มีทองคำอยู่เป็น จำนวนหลายตัน ดังนั้นด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงประกอบกับความยากในการได้มาจึงส่งผลให้ทองคำกลายเป็นโลหะมีค่าซึ่งไม่มีโลหะ มีค่าชนิดใดในโลกสามารถเทียบเคียงได้ 3.ความคงทน (durable) ทองคำเป็นโลหะมีค่าซึ่งคงทน ไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน ตัวอย่างที่คุ้นเคยกันดีก็ คือ มหาสมบัติของฟาโรห์ตุตังคาเมนซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อ 1350 ปีก่อนคริสตกาล พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ในปิระมิด พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติและเครื่องประดับทองคำจำนวนมหาศาล ปัจจุบันเวลาล่วงเลยมานานกว่า 3000 ปี แต่ทรัพย์ สมบัติและเครื่องประดับทองคำที่ฝังไว้ในปิระมิดยังคงเปล่งประกายเจิดจ้า สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้พบเห็นได้ไม่ น้อยทีเดียว 4.การนำไปใช้ประโยชน์ (reuseable) ทองคำเป็นโลหะมีค่าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเครื่องประดับ ชั้นสูง ทองคำมีความอ่อนและสามารถนำมาขึ้นรูปได้ง่าย ทองคำ 1 ออนซ์สามารถนำมาตีเป็นแผ่นได้กว้างถึง 9 ตาราง เมตร หรือทำเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 80 กิโลเมตร นอกจากนี้ทองคำยังสามารถนำมาหลอมใช้ใหม่ได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน
ในสมัยโบราณประเทศไทยเราได้กำหนดคุณภาพและคุณสมบัติของทองคำเอาไว้เป็นเนื้อ กล่าวคือ จะดู คุณลักษณะของทองคำแล้วแยกออกเป็นทองคำแต่ละประเภท เป็นเนื้อ เช่น ประเภทของทองคำตั้งแต่เนื้อสี่จนถึงเนื้อ เก้า โดยตั้งพิกัดราคาทองตามเนื้อ (หรือคุณภาพ) ดังประกาศในรัชกาลที่4 ว่า
ทองเนื้อหก คือทองหนัก 1 บาท ราคา 6 บาท ฯลฯ
ทองเนื้อเก้า คือทองหนัก 1 บาท ราคา 9 บาท ฯลฯ
กำหนดให้ทองเนื้อเก้าเป็นทองแท้ ทองบริสุทธิ์ ซึ่งเรียกว่า ทองธรรมชาติ หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ทอง ชมพูนุท (คือทองที่มีสีเหลือง เข้มออกแดง)ไม่มีโลหะธาตุอื่นเจือปนเลย แต่เนื้อทองจะอ่อน ดังในวรรณคดีเรื่องสังข์ ทอง ตอนตีคลี ที่เอ่ยถึงผิวพรรณสังข์ทองเมื่อถอดเงาะออกมาแล้วว่า “ดังทองชมพูนุชเนื้อเก้า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น