วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก






ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ
และล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดขนาดใหญ่ มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำหล่อลื่นและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ แต่ต่อมนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างอสุจิเอง






สาเหตุ :

มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดในผู้ชายสูงอายุ ในประเทศไทยอายุที่พบบ่อยคือมากกว่า 60 ปี มี
รายงานอุบัติการณ์ในผู้ชายอายุ 40 ถึง 60 ปีไม่มากนัก สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากที่แท้จริงยัง
ไม่มีใครทราบ หลายคนเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชายจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งของต่อม
ลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เนื่องจากโรคนี้พบมากที่สุดในชาวตะวันตก เชื่อกันว่าอาหารอาจ
มีส่วนให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนั้นสาเหตุของมะเร็ง
ต่อมลูกหมากยังเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์อีกด้วย ในประเทศไทยมะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับ
ที่ 5 ของมะเร็งในเพศชาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ในระยะลุกลามซึ่งทำให้การรักษาไม่
สามารถทำให้หายขาดได้

อาการแสดง :

อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

1. กลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากเลย ตรวจพบ
จากการตรวจร่างกายประจำปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้ว
จะสามารถหายขาดจากโรคได้

2. กลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ
ทำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อผ่านการตรวจอย่างละเอียดอาจพบว่าเกิดจากมะเร็งต่อม
ลูกหมากผู้ป่วย บางรายอาจได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ เพื่อแก้ไขภาวะต่อม
ลูกหมากโต และพบมะเร็งจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา



3. กลุ่มที่มีอาการของมะเร็งโดยทั่วไป ได้แก่อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตาม
ร่างกาย และกระดูก อาการเหล่านี้เป็นผลจากการลุกลามของมะเร็ง ผู้ป่วยในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้
หายขาดได้ แต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและอาจป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้


การวินิจฉัยโรค :

เนื่องจากมะเร็งในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจเพื่อให้ได้ผลในระยะ
เริ่มต้นจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติของ
ทางเดินปัสสาวะใดๆควรจะไปรับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากจากแพทย์ และหากมีประวัติญาติ
ใกล้ชิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรจะมารับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป

การตรวจค้นหามะเร็งต่อมลูกหมากประกอบด้วย การตรวจ
ทางทวารหนัก และ การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง คือ พี
เอส เอ ( PSA) เมื่อได้ค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว แพทย์จะแปลผลและ
สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงของมะเร็ง ซึ่งจะต้องตรวจ
ด้วยการตัดชิ้นเนื้อในขั้นตอนต่อไป
การรักษา :

การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรค อายุของผู้ป่วย
รวมทั้งการประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย


การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก

ผู้ป่วยระยะนี้ ยังไม่มีการกระจายของมะเร็งไปนอกต่อมลูกหมาก อาจทำการรักษาได้ 2 วิธี คือ

1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด ( Radical Prostatectomy )

เป็นการผ่าตัดใหญ่เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดเป็น
วิธีการที่สามารถทำให้หายจากโรคได้ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้สำเร็จจะมีพยากรณ์โรคดีมาก มะเร็งในระยะที่ 1
จะมีอัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีสูงถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง โดย
ทั่วไปไม่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังผ่าตัด ได้แก่ การสูญเสีย
สมรรถภาพทางเพศ ท่อปัสสาวะตีบ และปัสสาวะเล็ด เป็นต้น

2. การฝังรังสี ( Brachytherapy)


เป็นการรักษาแบบใหม่ โดยการฝังแท่งรังสีขนาดเล็กมากเข้าไปที่ต่อมลูกหมากผ่านผิวหนัง
บริเวณฝีเย็บ เป็นการรักษารูปแบบใหม่มีใช้จำกัดในโรงพยาบาลบางแห่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษา
สูงมาก มีข้อดีคือ อาจลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศหลังการรักษาได้

3. การผ่าตัดโดยใช้กล้อง ( Laparoscopic radical Prostatectomy)


เหมือนการผ่าตัดแบบ radical prostatectomy แต่ใช้กล้องแทน ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น