วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก






ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ
และล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดขนาดใหญ่ มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำหล่อลื่นและหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ แต่ต่อมนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างอสุจิเอง






สาเหตุ :

มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดในผู้ชายสูงอายุ ในประเทศไทยอายุที่พบบ่อยคือมากกว่า 60 ปี มี
รายงานอุบัติการณ์ในผู้ชายอายุ 40 ถึง 60 ปีไม่มากนัก สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากที่แท้จริงยัง
ไม่มีใครทราบ หลายคนเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชายจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งของต่อม
ลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เนื่องจากโรคนี้พบมากที่สุดในชาวตะวันตก เชื่อกันว่าอาหารอาจ
มีส่วนให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนั้นสาเหตุของมะเร็ง
ต่อมลูกหมากยังเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์อีกด้วย ในประเทศไทยมะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับ
ที่ 5 ของมะเร็งในเพศชาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ในระยะลุกลามซึ่งทำให้การรักษาไม่
สามารถทำให้หายขาดได้

อาการแสดง :

อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

1. กลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆที่เกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากเลย ตรวจพบ
จากการตรวจร่างกายประจำปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้ว
จะสามารถหายขาดจากโรคได้

2. กลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ
ทำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เมื่อผ่านการตรวจอย่างละเอียดอาจพบว่าเกิดจากมะเร็งต่อม
ลูกหมากผู้ป่วย บางรายอาจได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ เพื่อแก้ไขภาวะต่อม
ลูกหมากโต และพบมะเร็งจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา



3. กลุ่มที่มีอาการของมะเร็งโดยทั่วไป ได้แก่อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตาม
ร่างกาย และกระดูก อาการเหล่านี้เป็นผลจากการลุกลามของมะเร็ง ผู้ป่วยในระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้
หายขาดได้ แต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นและอาจป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้


การวินิจฉัยโรค :

เนื่องจากมะเร็งในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ การตรวจเพื่อให้ได้ผลในระยะ
เริ่มต้นจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติของ
ทางเดินปัสสาวะใดๆควรจะไปรับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากจากแพทย์ และหากมีประวัติญาติ
ใกล้ชิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรจะมารับการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป

การตรวจค้นหามะเร็งต่อมลูกหมากประกอบด้วย การตรวจ
ทางทวารหนัก และ การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง คือ พี
เอส เอ ( PSA) เมื่อได้ค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว แพทย์จะแปลผลและ
สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงของมะเร็ง ซึ่งจะต้องตรวจ
ด้วยการตัดชิ้นเนื้อในขั้นตอนต่อไป
การรักษา :

การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ระยะของโรค อายุของผู้ป่วย
รวมทั้งการประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย


การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก

ผู้ป่วยระยะนี้ ยังไม่มีการกระจายของมะเร็งไปนอกต่อมลูกหมาก อาจทำการรักษาได้ 2 วิธี คือ

1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด ( Radical Prostatectomy )

เป็นการผ่าตัดใหญ่เพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดเป็น
วิธีการที่สามารถทำให้หายจากโรคได้ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้สำเร็จจะมีพยากรณ์โรคดีมาก มะเร็งในระยะที่ 1
จะมีอัตราการรอดชีวิตใน 10 ปีสูงถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง โดย
ทั่วไปไม่นิยมผ่าตัดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังผ่าตัด ได้แก่ การสูญเสีย
สมรรถภาพทางเพศ ท่อปัสสาวะตีบ และปัสสาวะเล็ด เป็นต้น

2. การฝังรังสี ( Brachytherapy)


เป็นการรักษาแบบใหม่ โดยการฝังแท่งรังสีขนาดเล็กมากเข้าไปที่ต่อมลูกหมากผ่านผิวหนัง
บริเวณฝีเย็บ เป็นการรักษารูปแบบใหม่มีใช้จำกัดในโรงพยาบาลบางแห่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษา
สูงมาก มีข้อดีคือ อาจลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศหลังการรักษาได้

3. การผ่าตัดโดยใช้กล้อง ( Laparoscopic radical Prostatectomy)


เหมือนการผ่าตัดแบบ radical prostatectomy แต่ใช้กล้องแทน ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน

สาเหตุ ที่จะเป็นมะเร็ง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่

1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น

2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี